กริยานุเคราะห์หรือกริยาช่วย (Helping Verbs / Auxiliary verbs) คืออะไร

กริยาช่วยคือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (main verb) ในประโยคเสมอ มีหน้าที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์ ตามโครงสร้างประโยคดังนี้

Subject + helping verb + main verb + (object)
ประธาน + กริยาช่วย + กริยาหลัก + (กรรม)

กริยาช่วยในภาษาอังกฤษมีดังนี้

  1. กริยาช่วยกลุ่ม to be ได้แก่ is, am, are, was, were, be, being, been

    กริยาช่วยเหล่านี้จะใช้ในประโยคในรูป present/past/future continuous tense และ passive voice เช่น

    • I am driving my friend’s car.
    • My friend’s car was driven by me.
    • Bella is drinking a glass of water.
    • A glass of water is being drunk by Bella.
    • We are breaking the dishes.
    • Jane came home late while we were sleeping.
  2.  กริยาช่วยกลุ่ม to have ได้แก่ has, have, had

    กริยาช่วยเหล่านี้จะใช้ในประโยคในรูป present/past perfect tense เช่น

    • She has eaten a piece of cake.
    • I have written a letter almost an hour.
    • I had eaten a sandwich before I went to the hospital.
  3.  กริยาช่วยกลุ่ม to do ได้แก่ do, does, did

    กริยาช่วยเหล่านี้จะใช้ในการเน้นกริยาหลักในประโยค เช่น

    • We did understand your feeling.
    • Malee does work hard.
    • I do want to help you.

      ***จะเห็นได้ว่ากริยาช่วยกลุ่ม to be (is, am, are, was, were, be, being, been), to have (has, have, had) และ to do (do, does, did) เหล่านี้ ม่มีความหมายในตัวมันเอง แต่จะมีหน้าที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยการบอกรูปไวยากรณ์ว่าประโยคเหล่านั้นอยู่ใน tense ไหน เป็นประโยค active หรือ passive voice

  4.  กริยาช่วยกลุ่ม modal auxiliaries ได้แก่ will, would, shall, should, can, could, may, might, must, ought to

    กริยาช่วยเหล่านี้เป็นกริยาช่วยที่มีความหมายในตัวมันเอง (กริยาช่วยตัวอื่นๆที่กล่าวข้างต้นทำหน้าที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์แต่ไม่มีความหมายในตัวมันเอง) ดังนี้

    • will, would = จะ
    • shall, should = จะ, น่าจะ, ควรจะ
    • can, could = สามารถ
    • may, might = อาจจะ
    • must = ควรจะ
    • ought to = ควรจะกริยาช่วยกลุ่มนี้ใช้แสดงเงื่อนไขต่างๆ ความเป็นไปได้ ความสามารถ ข้อผูกมัด การขออนุญาต ความจำเป็น เจตนาในประโยค เช่น
    • Would you like a piece of cake?
    • Jane should go to school earlier.
    • Dan can speak Japanese very well.
    • Jim may arrive late.
    • I must go now.
    • Lisa ought to see the doctor.

หน้าที่ของกริยาช่วย

กริยาช่วยจะเสริมให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขั้น ซึ่งกริยาหลักในประโยคเพียงลำพังไม่สามารถทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์ได้ ดังตัวอย่างเหล่านี้

  • I speak Spanish. (ฉันพูดภาษาสเปน) – ไม่มีกริยาช่วยในประโยค มี speak เป็นกริยาหลัก

  • I am speaking Spanish. (ฉันกำลังพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย am+V.ing เพื่อแสดงให้เห็นถึง present continuous tense
  • I do speak Spanish. (ฉันพูดภาษาสเปนจริงๆ) – ใช้กริยาช่วย do เพื่อเน้นกริยาหลักในประโยค
  • I will speak Spanish. (ฉันจะพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย will เพื่อแสดงเจตนาว่าจะทำในอนาคต
  • I would speak Spanish. (ฉันจะพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย would เพื่อแสดงความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง (เช่น I would speak Spanish if I met Rafael Nadal. ฉันจะพูดภาษาสเปนถ้าฉันเจอราฟาเอล นาดาล)
  • I shall speak Spanish. (ฉันจะพูดภาษาสเปน) – ใช้ shall แทน will ใน British English ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้วในประโยคบอกเล่า

  • I should speak Spanish. (ฉันควรจะพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วยเพื่อ should แสดงถึงความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่

  • I can speak Spanish. (ฉันสามารถพูดภาษาสเปนได้) – ใช้กริยาช่วย can เพื่อแสดงให้เห็นว่าสามารถทำได้
  • I could speak Spanish. (ฉันมีโอกาสพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย could เพื่อบอกความน่าจะเป็นว่าจะสามารถทำได้
  • I may speak Spanish. (ฉันอาจจะพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย may เพื่อแสดงความเป็นไปได้หรือใช้แสดงการขออนุญาต
  • I might speak Spanish. (ฉันน่าจะพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย might เพื่อแสดงความเป็นไปได้หรือสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
  • I must speak Spanish.  (ฉันต้องพูดภาษาสเปน) – ใช้กริยาช่วย must เพื่อแสดงความจำเป็นว่าต้องทำ
  • I ought to speak Spanish. (ฉันควรจะพูดภาษาสเปน) – ought to มีความหมายเหมือน should เป็นคำที่คนสมัยก่อนใช้กัน

    จะเห็นได้ว่า เมื่อเราเปลี่ยนกริยาช่วยในแต่ละประโยค จะทำให้ความหมายของแต่ละประโยคเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งกริยาหลักในประโยคเพียงลำพัง (ในที่นี้คือคำว่า speak) ไม่สามารถแสดงความหมายที่สมบูรณ์ในประโยคได้ จึงต้องอาศัยกริยาช่วยมาเสริมนั่นเอง

สรุป

helping verbs

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s